หน่วยที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน      
1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน
     1.1  พระพุทธศาสนาในประเทศสหภาพพม่า
            สันนิษฐานว่าพระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศพม่า สมัยเดียวกับประเทศไทย คือ ประมาณก่อน พ.ศ. 300  โดยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งสมณฑูต คือ พระโสณะและพระอุตระ เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ประมาณ พ.ศ. 234-235...อ่านต่อเพิ่มเติม


หน่วยที่ 2 พุทธประวัติและชาดก

พุทธประวัติ
        พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับ”พระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน...อ่านต่อเพิ่มเติม

หน่วยที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศานพิธี

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
     ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วัวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา...อ่านต่อเพิ่มเติม


หน่วยที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

ความหมายของพระรัตนตรัย
          คำว่า “รัตนตรัย” มาจากคำว่า “รัตน” แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า “ตรัย” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่....อ่านต่อเพิ่มเติม


หน่วยที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต




พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท....อ่านเพิ่มเติม


หน่วยที่ 6 การบริจิตและการเจริญปัญญา

การบริหารจิตและเจริญปัญญา
   การบริหารจิต  คือ  การฝึกอบรมจิตใจให้มีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่  จิตที่ผ่านการฝึกฝนจะมีความอ่อนโยน  นุ่มนวล  เข้มแข็งและปลอดโปร่ง  พร้อมที่จะเป็นฐานแห่งการเจริญปัญญาจึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  และเป็นพื้นฐานของกันและกัน  บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นคนที่พัฒนาแล้วจะต้องเป็นบุคคลที่ผ่านการฝึกสมาธิและเจริญวิปัสสนามาอย่าครบถ้วน...อ่านต่อเพิ่มเติม


หน่วยที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวก และสาสนิกชนตัวอย่าง

พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้น เชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงได้ชักชวนท่านอัสสชิพร้อมสหาย ไปเฝ้าปรนนิบัติขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม และเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านอัสสชิพร้อมด้วยสหายได้พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปกตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปโปรด โดยแสดงธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง 4
....อ่านต่อเพิ่มเติม

***ชมท่านอื่น***


หน่วยที่ 8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ
        พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้...อ่านต่อเพิ่มเติม

หน่วยที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เกี่ยวกับศาสนา      
      ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน   แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม...อ่านต่อเพิ่มเติม

หน่วยที่ 10 ศาสนาที่สำคัญในประเทศไทย

1.ศาสนาพารห์ม-ฮินดู       
      ศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Hinduism) เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคนศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ พระพรหมซึ่งเป็นพระผู้สร้างโลก พระศิวะเป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุเป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก...อ่านต่อเพิ่มเติม